คดีความ (Der Prozess) / 1925
เรื่องย่อ:
วันหนึ่งในวัย 30 ปี ชายคนหนึ่งก็พบว่าเขาตกมาเป็นผู้ต้องหาโดยไม่รู้ตัวว่าตัวเองทำผิดสิ่งใดไว้ แม้เขาจะไม่ต้องโทษจำคุก และทางการปล่อยให้เขาได้มีอิสระ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเยี่ยงเสรีชนทั่วไป หากแต่ก็คาดคั้นและรอให้เขา ‘สารภาพ’ ความผิดที่ได้ก่อไว้ อันทำให้เขาต้องมาทบทวนว่า ความผิดนั้นคืออะไร เขาได้ทำจริงๆ หรือไม่ และเหตุใดเขาจึงถูกพิพากษาเช่นนี้
เกี่ยวกับผู้เขียน:
ฟรันซ์ คาฟคา (Franz Kafka, 1883-1924) นักเขียนชาวยิวที่เกิดในกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี คาฟคาจึงพูดภาษาเยอรมันเป็นหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างคาฟคากับ เฮอร์มันน์ พ่อของเขานั้นไม่สู้จะดีนัก (ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะเป็นแรงขับเคลื่อนและเป็นหัวใจสำคัญในงานเขียนของเขา) คาฟคาเคยบรรยายว่าชีวิตวัยเด็กของเขานั้นทรมานอย่างยิ่งเพราะพ่อผู้โหดร้ายและเข้มงวด นายเฮอร์มันน์ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลักจึงเป็นเสมือนเสาสำคัญของบ้าน และสั่งสมอำนาจการกดทับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวมาอย่างยาวนาน และสะท้อนผ่าน ‘กลาย’ (The Metamorphosis) นิยายขนาดสั้นที่ว่าด้วยเมื่อชายคนหนึ่งกลายไปเป็นแมลง, ‘จดหมายถึงพ่อ’ (Brief an den Vater) ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำเสียงเจ็บปวดและข้นแค้นของคาฟคาในวัยเด็กที่ถูกพ่อผู้เข้มงวดลงโทษ
อย่างไรก็ดี เขาเป็นคนเรียนเก่งและร่ำเรียนด้านกฎหมายซึ่งนำมาใช้หากินได้หลากหลายทาง นอกจากนี้ เขายังให้ความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ วรรณกรรมและศิลปะซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นฐานรากในงานเขียนหลายๆ ชิ้นของเขา พร้อมกันนั้น ชีวิตวัยหนุ่มของเขาก็ทุกข์ระทมจากสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อพรรคนาซีตามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจนเป็นเหตุให้เขาสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปในค่ายกักกัน ตัวคาฟคาแม้จะรอดมาได้ก็มีสภาวะทุกข์ตรมขมขื่นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งตัวเขาเองยังเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ไมเกรน และโดยเฉพาะวัณโรคที่คอหอย ซึ่งทำให้เขากินอาหารไม่ได้ และเสียชีวิตในวัยเพียง 40 ปีจากอาการร่างกายขาดสารอาหาร
ทำไม The Curator แนะนำให้อ่าน:
‘คดีความ’ เป็นหนึ่งในงานเขียนชิ้นเลิศของคาฟคา มันเป็นการตั้งคำถามในเชิงนามธรรมและปรัชญาถึงอิสรเสรีภาพและการดำรงอยู่ของมนุษย์ ผ่านเรื่องราวของชายธรรมดาวัย 30 (อันเป็นปีเดียวกันที่คาฟคาตัดสินใจออกเดินทางมาจากบ้าน) ที่ตั้งคำถามต่อตัวเองว่ามนุษย์เรามีอิสระอยู่จริงหรือไม่ และยังวิพากษ์ระบบยุติธรรมอย่างดุเดือดผ่านเรื่องราวของคนตัวเล็กๆ ที่ไม่เคยมีปากเสียงในสังคม
Be the first to review “คดีความ”